------------------------------------------------------------------------
**10 ความแตกต่างระหว่างฟุตบอลไทย-เวียดนาม**
.การวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างฟุตบอลของ 2 ชาติ หลังจากที่พบกัน ทีมชาติไทยเอาชนะทีมชาติเวียดนามไป 3-0 และทีม U19 พวกเขาจัด 6-0 ให้โค้ชฮอง อัน ตวน
.
1. เรียนรู้ต้นแบบจากพรีเมียร์ลีก
ก่อนปี 2007 ฟุตบอลไทยตกต่ำไปหมด ผู้เล่นที่มีคุณภาพลดลง ขณะที่ลีกไม่ได้รับความสนใจและหยุดอยู่กับที่ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย (FAT) ได้ตัดสินใจนำรูปแบบวิธีการของอังกฤษมาใช้กับลีกอาชีพของประเทศนี้
หลังจากนั้น 8 ปี ฟุตบอลไทยได้เปลี่ยนไป พวกเขามีโครงสร้างที่มั่นคงมี 3 ระดับชั้น คือ ไทยพรีเมียร์ลีก (18 ทีม), ดิวิชั่น 1 (20 ทีม), ดิวิชั่น 2 (83 ทีม) ในประเทศเวียดนามจำนวนสโมสรของ V’League ดิวิชั่น 1 ในฤดูกาล 2015 มีเพียง 22 ทีม โครงสร้างของการแข่งขันได้เปลี่ยนแปลงตลอดในเวลาหลายปีที่ผ่านมาเมื่อหลายสโมสรมีการล้มเลิกกะทันหันและเปลี่ยนเจ้าของ เช่น Navibank Sài Gòn, Sài Gòn Xuân Thành, K.Kiên Giang, V.Ninh Bình…
.
2. แต่ละสโมสรมีสนามเป็นของตัวเอง
หนึ่งสิ่งที่สโมสรในประเทศไทยจำเป็นต้องมีคือ สนามของตัวเอง ไม่ต้องมีขนาดความจุที่ใหญ่เกินไป แต่ต้องครบตามที่กำหนด โดยเฉพาะพื้นผิวหญ้าที่มีคุณภาพที่ดี การมีสนามเป็นของตนเองจะช่วยให้สะดวกในการสร้างรายได้ให้สโมสรจากการขายตั๋วและของที่ระลึก บางสโมสรสร้างสนามที่มีรูปแบบคล้ายสโมสรอังกฤษ เช่น ปราสาทสายฟ้าบุรีรัมย์สร้างสนามรูปแบบเดียวกับ สแตมฟอร์ดบริดจ์ (เชลซี), เมืองทองยูไนเต็ดสนามคล้ายกับ โอลด์ ทรัฟฟอร์ด ของแมนยู
ในเวียดนามสนามที่ใช้เป็นของท้องถิ่น สโมสรไม่ได้รับสิทธิในการจัดการ ทำให้แหล่งที่มาของรายได้ไม่แน่นอน สิ่งอำนวยความสะดวกของบางสนามยังค่อนข้างขาดแคลน คุณภาพของสนามหญ้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งแถบพื้นที่ภาคเหนือนั้นแย่มาก สามารถทำให้ผู้เล่นได้รับบาดเจ็บได้ง่าย
.
3. ทำเงินได้มากจากลิขสิทธิ์โทรทัศน์
ควบคู่กับตั๋ว ลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดทำให้เกิดรายได้ขั้นพื้นฐานของสโมสรอาชีพ ประเทศไทยทำได้ดีมาก พวกเขาจัดการแข่งขันให้ตรงกับช่วงไพรม์ไทม์ (ช่วงเวลาที่มีผู้ชมมากที่สุด) จาก 18:00น. - 20:00น.
ค่าลิขสิทธิ์โทรทัศน์เพิ่มขึ้นจาก 5.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ระยะปี 2011 - 2013) เป็น 57 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในระยะต่อมา เมื่อเร็วๆนี้ ทรูวิชั่นได้ทำสัญญาใหม่มูลค่า 115 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งกินเวลาการถ่ายทอด 2016 - 2020
อย่างไรก็ตามค่าลิขสิทธิ์โทรทัศน์ของ V.League คือ ‘0’ โดยบริษัทร่วมหุ้น VPF (Vietnam Professional Football) ไม่เคยได้รับเงินจากสถานีโทรทัศน์ ในทุกปี สโมสร V.League ได้รับจำนวนเงินสนับสนุนลิขสิทธิ์โทรทัศน์จาก VPF จำนวนเงินดังกล่าวในความจริงแล้วเป็นเงินจากผู้บริจาคที่จ่ายให้ VPF เป็นค่าตอบแทนในการโฆษณา 15 นาที ต่อการแข่งขันบนจอโทรทัศน์
* ชลบุรีไม่ได้เป็นสโมสรที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในประเทศไทย แต่ตอนนี้พวกเขามีสปอนเซอร์เกือบ 10 ราย ช่วยให้สโมสรมีรายได้ที่มั่นคงมาก
.
4. ผู้เล่นไทยมีประกันภัย
1 ปีที่ผ่านมา AIA บริษัทประกันภัยที่มีชื่อเสียงได้ลงนามสัญญามูลค่า 380 ล้านบาท (12.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) เงินสดรวมถึงการประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลสำหรับผู้เล่น 34 สโมสร นี่จะทำให้ผู้เล่นเล่นด้วยความสะดวกสบายและทุ่มเมให้กับสโมสร
อย่างไรก็ตาม V.League ไม่มีบริษัทประกันที่จะสนับสนุนสโมสรแม้ว่ามีระดับความรุนแรง ความเสี่ยงในประเทศไทยค่อยๆลดน้อยลง ดังนั้นเมื่อผู้เล่นได้รับบาดเจ็บสาหัสหรืออุบัติ พวกเขาจะต้องพบกับค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการรักษา อนาคตไม่มีความแน่นอนถ้าสโมสรยังไม่มีการร่วมมือ โชคดีที่ 2 ผู้เล่น กองกลาง Tran Anh Khoa และ กองหน้า Abass ที่ได้รับบาดเจ็บเร็วๆนี้ ปัจจุบันสโมสรเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ (แอด: รายแรกเจ็บหนักมากที่เข่า รายที่สองเจ็บไม่น้อยที่ข้อเท้า ทั้งสองรายได้รับบาดเจ็บจากผู้เล่นชาวเวียดนาม)
.
5. ผู้ให้การสนับสนุนต้องการทำสัญญาระยะยาวกับไทย
Thai Premier League และ V.League มีผู้สนับสนุนหลักคือโตโยต้า แต่ระดับความน่าเชื่อถือและการให้ความร่วมมือแตกต่างกันมาก คู่ค้ารายใหม่จากญี่ปุ่นกับ V.League ฤดูกาล 2015 มีเงินลงทุนประมาณ 30 พันล้านดอง/ปี ในขั้นต้นมีระยะเวลาร่วมมือเป็นเวลาหนึ่งปี
อย่างไรก็ตามบริษัทได้สนับสนุนลีกอันดับหนึ่งของประเทศไทยในระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา จากฤดูกาล 2013 – 2015 พวกเขาได้รับเงินสนับสนุน 200 ล้านบาท (ประมาณ 130 พันล้านดอง) แต่ไม่ได้จบเพียงแค่ฤดูกาล 2015 เท่านั้น ความร่วมมือครั้งนี้ได้รับการขยายสัญญาไปจนถึงฤดูกาล 2018 เป็นจำนวนเงินถึง 300 ล้านบาท
*ฮองอันยาลายเป็นทีม V.League ทีมเดียวในปี 2015 ที่ประกาศว่ามีรายได้ไม่น้อยกว่า 5 พันล้านดอง ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการขายตั๋วและการจัดหาทุน ส่วนสโมสรที่เหลือไม่มีรายได้ส่วนนี้ บางส่วนยังต้องขอเงินจากงบประมาณรัฐ... ขณะที่บุรีรัมย์ยูไนเต็ด ทีมชั้นนำของประเทศไทยตั้งแต่ปี 2013 มีรายได้เกือบ 300 พันล้านดอง
.
6. สโมสรปฏิเสธสินค้าลอกเลียนแบบ
สโมสรในไทยพรีเมียร์ลีกมีสปอนเซอร์เครื่องแต่งกายที่มีชื่อเสียง (Nike, Grand Sport, Warrix, FBT, Kool, Pan, Ari) หรือผลิตเอง (อาร์มี่ยูไนเต็ด, บุรีรัมย์, ชัยนาท และเชียงราย) คุณภาพของเสื้อคือสิ่งที่ต้องเอาใจใส่เป็นอย่างมากที่สโมสรของพวกเขาจะขายสู่แฟนๆ ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 6 แสน - 1 ล้านดอง (ประมาณ 900 – 1500 บาท) ถึงกระนั้นแฟนบอลจำนวนมากก็ซื้อ แฟนบอลชาวไทยปฏิเสธการซื้อเสื้อลอกเลียนแบบและสนุกกับการใส่มาเชียร์สโมสรที่สนาม พวกเขาใส่เสื้อสโมสรไปทุกที่ ไม่ใช่แค่สนามแข่งขัน
.
7. มีสัมพันธ์ที่ดีกับหลายสโมสรในยุโรป
ประเทศไทยเคยมี Arsenal academy-JMG แต่ล้มเลิกไปแล้ว แต่คุณภาพของนักเตะเยาวชนของพวกเขาก็ดีมากเพราะมีการฝึกอบรมร่วมกับสโมสรยุโรป เช่น Everton, Reading, Leicester City... สโมสรอังกฤษที่มีอาคาเดมี่หรือการเปิดการฝึกอบรมในประเทศไทย ในทุกปีสโมสรที่มีชื่อเสียง เช่น Manchester United, Liverpool, Chelsea… มาทัวร์และนำไปสู่การแข่งขันที่มีคุณภาพ
*สโมสรเชลซีมีการแข่งขันกระชับมิตรกับทีมออลสตาร์ของไทยเมื่อช่วงซัมเมอร์ที่ผ่านมา
ในเวียดนามไม่ได้มีความสัมพันธ์กับสโมสรใหญ่ในยุโรป HAGL-Arsenal academy-JMG มีโปรแกรมฝึกอบรมกับต่างชาติ สโมสรยุโรปได้มีการมาเยี่ยมชมเวียดนามแต่ก็ไม่สม่ำเสมอ
นอกจากนี้โรงเรียนกีฬาในประเทศไทย มีระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ดีกว่าเวียดนาม แม้วิทยาลัยและมหาวิทยาลัยยังมีสนาม การฝึกอบรมที่มีคุณสมบัติเพื่อเป็นมืออาชีพ ในทีมชาติไทยที่ชนะเวียดนามไป 3-0 ที่ผ่านมา มีอย่างน้อยสองผู้เล่นที่เติบโตมาจากโรงเรียนกีฬาของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (น่าจะหมายถึงโรงเรียนเครืออัสสัมชัญ) เช่น กัปตันธีรทร บุญมาทันและสารัช อยู่เย็น
.
8. จิตสำนึกของผู้เล่น (แอด: มันชักจะลึกลงไปเรื่อยๆแฮะ =..อีโมติคอน smile
ผู้เล่นไทยมีความตระหนักในการรักษาภาพลักษณ์ของตัวเองเพราะมันเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์โดยตรง พวกเขามีสนามที่สวยงาม, ทุ่มเท่เพื่อเป็นไอดอลของแฟนบอล ขณะที่แฟนๆมากขึ้นพวกเขาก็จะได้ประโยชน์มากขึ้น เมื่อย้ายไปสโมสรอื่นแฟนๆของพวกเขาก็จะติดตามไป แฟนบอลไทยนิยมชมชอบผู้เล่นที่ทั้งหล่อทั้งเล่นฟุตบอลเก่ง (แอด: เห้ย! ถ้าเก่งไม่จำเป็นต้องหล่อ แต่ถ้าหล่อก็ล่อใจดีนะเว้ย 555) เช่น ชาริล ชัปปุยส์, ธีรทร บุญมาทัน, ทริสตอง โด, เกริกฤทธิ์ ทวีกาญจน์ ฯ บรรดาผู้เล่นที่เป็นที่รู้จักจะรักษาภาพลักษณ์ จะไม่ค่อยเห็นพวกเขาปรากฏตามบาร์ ปาร์ตี้
ผู้เล่นเวียดนามยังไม่ได้ให้ความสนใจในเรื่องนี้มากนัก เมื่อเร็วๆนี้ หลังจากเสร็จสิ้นการแข่งขันที่แพ้ให้กับทีมชาติไทย ผู้เล่นทีมชาติเวียดนามบางคนไปบาร์ ทำให้ประชาชนเกิดการวิพากษ์วิจารณ์ คองเฟืองดาวรุ่งที่มีชื่อเสียงที่สุดในเวียดนามก็อยู่ในเหตุการณ์ที่ผ่านมานั้น สโมสรในเวียดนามไม่มีแพทย์ที่ดูแลเกี่ยวกับโภชนาการ, ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกกำลังกาย... เป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลต่อจิตสำนึกของผู้เล่น
.
9. สโมสรมุ่งเน้นไปที่แฟนบอลเสมอ
สโมสรส่วนใหญ่ได้ยินถึงความต้องการ คิดหาวิธีที่จะดึงดูดแฟนๆจำนวนมากไปที่สนาม สำหรับพวกเขาสนามและชัยชนะที่งดงามเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่ตอบแทนแฟนบอล ดังนั้นสโมสรจะพยายามเก็บรักษาฐานแฟนบอลตลอดทั้งฤดูกาล
ใน V.League สโมสรส่วนมากไม่รู้จักสร้างภาพลักษณ์ แฟนบอลหันไปวิพากษ์วิจารณ์สโมสรมีให้เห็นไม่ยาก แฟนบอลบางส่วนหันหนีให้กับสโมสรที่ตนเองชอบเมื่อสโมสรพวกเขาพ่ายแพ้ในการแข่งขัน
.
10. สมาคมทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
สหพันธ์ฟุตบอลเวียดนาม (VFF) มีประมาณ 100 คน สำนักงานใหญ่มีพื้นที่ 7 ไร่ แต่จุดเด่นของหน่วยงานที่กำกับดูแลฟุตบอลเวียดนามกับอ่อนด๋อยมาก มุ่งเน้นที่การก่อสร้างลีกอาชีพจนไปถึงไปจ้างโค้ชให้กับทีมชาติ ล่าสุดมีการกล่าวหาว่ารับสินบน, ขาดผู้นำขาดความสามัคคี ไม่ต้องพูดถึงสถานที่ที่ถูกทิ้งร้าง
สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย (FAT) ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างร้อนแรง แม้กระทั่งประธานของพวกเขายังได้รับการลงโทษจากฟีฟ่า แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาพวกเขาได้ทำงานเป็นอย่างดี ช่วยให้ฟุตบอลไทยเติบโตเพิ่มขึ้นมาก พวกเขาโด่ดเด่นในย่านนี้ในฟุตบอลชาย ฟุตบอลหญิง แม้กระทั่งฟุตซอล พวกเขาทะเยอทะยานที่จะชิงตั๋วไปฟุตบอลโลกปี 2020, เจ้าภาพฟุตบอลหญิงชิงแชมป์โลก 2013… พวกเขาทำทั้งหมดด้วยจำนวนคนเพียง 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น เมื่อเทียบกับ VFF
.
.
ปล. เป็นไงล่ะท่าน อย่าบ่นนะว่าเยอะ เพราะแอดขอบ่นแทน มันยาวมากกกกกกกกกกกกก ตั้งแต่เมื่อคืน ลืมแล้วลืมอีกจนเพิ่งจะเสร็จ 5555 ข้ามบ้างเมื่อรู้สึกขี้เกียจ
ปล2. ที่มา http://news.zing.vn/10-diem-khac-biet-giua-bong-da-Thai-Lan-va-Viet-Nam-post591463.html
.
.
By : @Ai
------------------------------------------------------------------------
เครดิต: รู้เรื่องเขาเรื่องจิ๊บจิ๋ว - War Elephant Team
Credit: https://www.facebook.com/WarElephant.N12
0 ความคิดเห็น