Open top menu
วันจันทร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ถ้าใครได้ติดตามโครงการ “ก้าว” ที่พี่ตูนออกวิ่งมาราธอนเพื่อระดมทุนหาซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ จะได้เห็นผู้หญิงคนหนึ่งที่วิ่งติดตามอยู่ตลอดทาง เธอคนนี้คือ หมอเมย์ พญ. สมิตดา สังขะโพธิ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาเวชศาสตร์ฟื้นฟู ประจำโรงพยาบาลพระรามเก้า



โดยงานหลักของคุณหมอ จะดูแลคนไข้ที่อยู่ในกลุ่มของ อัมพฤกษ์ อัมพาต กระดูกหัก หรือว่าเป็นโรคของทางระบบประสาท โรคทางหัวใจ ที่ทำให้กล้ามเนื้อผิดปกติ อ่อนแรงลงไป ฟื้นฟูคุณภาพชีวิตให้คนไข้จะทำงานร่วมกับนักกายภาพบำบัดเป็นทีม ซึ่งทำมาประมาณ 7 ปีแล้ว นักวิ่งส่วนใหญ่ที่มาปรึกษาจะเป็นการบาดเจ็บจากการวิ่ง มีปัญหาของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก รวมถึงวิเคราะห์ท่าทางการวิ่งด้วย



ไม่เพียงแต่ดูแลคนไข้ในโรงพยาบาลเท่านั้น บนโลกออนไลน์คุณหมอก็ยังเปิดเพจ Goodhealth สุขภาพดีอย่างมีกึ๋น เพื่อให้ความรู้และคำแนะนำสำหรับคนที่ชอบวิ่ง และออกกำลังกาย ซึ่งล้วนแต่เป็นประโยชน์กับคนที่สนใจมากๆ โดยคุณหมอเคยเขียนบทความถึงจุดเริ่มต้นวิ่งว่า….
พยายามพัฒนาตัวเองทุกๆวัน เพื่อบางอย่างที่ไม่รู้ว่าอะไร

16 ปีก่อน กับนักศึกษาแพทย์ เพราะไม่รู้จะเรียนอะไร





14 ปีก่อน กับแพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู เพราะแค่ชอบออกกำลังกายอย่างบ้าคลั่ง แต่ไร้ทิศทาง แค่ปลดปล่อยพลังงานออกไป

10 ปีก่อน กับแพทย์เฉพาะเวชศาสตร์ฟื้นฟูเกี่ยวกับความปวด เพราะแค่หมอดูบอกว่าต้องทำงานอยู่กับของแหลมๆ กับโอกาสดีๆที่ได้มา



5 ปีก่อน กับการเรียนเวชศาสตร์ชะลอวัย เพื่อตอบคำถามตัวเองบางคำถามที่แพทย์แผนปัจจุบันตอบไม่ได้ ..มันคือทางออกของสุขภาพดีแบบวิทยาศาสตร์ตอบได้ทุกอย่าง กิน นอน ออกกำลังกาย อาหารเสริม โภชนาการ…คือใช่ คือดี



4 ปีก่อน กับการออกกำลังกายรูปแบบวิ่งที่จริงจังมากขึ้น…กับระยะมาราธอนที่ไม่เคยฝันว่าจะมาถึง จนถึงอัลตร้า ที่ต้องมากกว่าบ้าถึงจะทำได้ และเรียนรู้จากการลงมือทำ





การออกวิ่งของหมอเมย์ ไม่ได้จบที่ตัวเองคนเดียว แต่ยังกระจายไปหาคุณแม่ของหมอเมย์อีกด้วย แม้ว่าคุณแม่จะอายุมากแล้ว แต่ร่างกายยังแข็งแรง ลงแข่งขันวิ่งในรายการต่างๆ อยู่เป็นประจำ บางครั้งก็วิ่งจากบ้านไปหาหมอเมย์ที่โรงพยาบาล เห็นแบบนี้แล้ว ใครที่คิดว่าอายุมากแล้วคงออกไปวิ่งไม่ไหว ต้องดูครอบครัวนี้เป็นแรงบันดาลใจแล้วล่ะ



นอกจากจะเป็นนักวิ่งในทีมแล้ว “หมอเมย์” ยังเป็นหมอประจำทีมด้วย คอยดูแลเรื่องอาการบาดเจ็บจากการวิ่งของ “ตูน” รวมทั้งคณะนักวิ่ง คอยดูแลเรื่องอาหาร รวมตลอดควบคุมจังหวะการวิ่ง ถ้าหากช่วงใดที่รู้ตัวว่า “ตูน” จะวิ่งเร็วขึ้น “หมอเมย์” ก็วิ่งตามหลัง เพื่อให้คณะนักวิ่งชะลอความเร็ว จังหวะใดที่เริ่มวิ่งช้าอยากให้คณะสปีด



“หมอเมย์” ก็จะวิ่งออกหน้า เพื่อให้ “ตูน” สปีดความเร็วตาม แม้ว่า “หมอเมย์” จะผ่านการวิ่งมาราธอนมาแล้วหลายครั้ง แต่มาราธอนโดยทั่วไปก็เป็นการวิ่งแค่ระยะทาง 42 กิโลเมตร ซึ่งผิดกับครั้งนี้ที่ต้องวิ่งยาวถึง 2 พันกว่ากิโลฯ ใช้เวลา 55 วัน แต่ “หมอเมย์” ก็ไม่ท้อ เพราะนอกจากจะเป็นการออกกำลังกาย ซึ่งคุณหมอทำเป็นเป็นปกติอยู่แล้ว ยังเป็นการทำบุญกุศลไปด้วยในตัว















Different Themes
Written by Lovely

Aenean quis feugiat elit. Quisque ultricies sollicitudin ante ut venenatis. Nulla dapibus placerat faucibus. Aenean quis leo non neque ultrices scelerisque. Nullam nec vulputate velit. Etiam fermentum turpis at magna tristique interdum.

0 ความคิดเห็น