Open top menu
วันเสาร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2560

เมื่อพูดถึงเรื่องสายไฟฟ้า เสาไฟฟ้าในประเทศที่พัฒนาแล้ว เราก็มักจะนึกถึงความเป็นระเบียบเรียบร้อยมาก่อนเป็นอันดับแรก และจะตามมาด้วยความสวยงามของการจัดการระบบสายไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันหลากหลายประเทศก็เริ่มที่จะนำสายไฟฟ้าลงใต้ดินแล้ว (และในบ้านเราก็เริ่มทำแล้วในบางจังหวัด) แต่เพราะเหตุใด? ประเทศพัฒนาแล้วอย่างสหรัฐและญี่ปุ่น จึงเลือกที่จะไม่ฝังสายไฟฟ้าลงใต้ดิน
ย้อนกลับไปดูสภาพของเมือง Jersey City หลังประสบกับพายุเฮอร์ริเคนแซนดี้ ในปี 2012

แต่ทว่าการนำสายไฟฟ้าลงใต้ดินนั้นยังไม่อาจสามารถทำได้ครอบคลุมไปทั่วประเทศ ทั้งๆ ที่เราคิดว่าก็ประเทศเหล่านั้นน่าจะทำได้ แต่ด้วยเหตุใดที่ประเทศก้าวหน้า ยกตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นจึงไม่ทำ?

ก่อนอื่นเลยต้องเกริ่นว่าประเทศเหล่านี้อยู่ในโซนที่เกิดภัยภิบัติอยู่บ่อยครั้ง อย่างสหรัฐอเมริกาจะต้องเจอกับพายุเฮอร์ริเคนและแผ่นดินไหว ส่วนทางฝั่งญี่ปุ่นก็ต้องเจอพายุไต้ฝุ่นและแผ่นดินไหวในทุกๆ ปี

แผนภาพพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวของสหรัฐอเมริกา สีแดงจะเป็นระดับที่รุนแรงที่สุด

ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น สิ่งที่ตามมาก็คือความเสียหายต่อระบบสายส่งไฟฟ้า ซึ่งจะต้องทำการซ่อมแซมให้รวดเร็วที่สุด โดยเมื่อเทียบกันแล้ว แม้ว่าเสาไฟฟ้ากับสายไฟฟ้าที่อยู่เหนือพื้นดินจะเสียหายมากกว่า แต่สำหรับราคาการซ่อมนั้นถูกกว่าระบบสายไฟฟ้าฝังดินหลายเท่าตัว

ดังนั้นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงภัยพิบัติสูงยังคงใช้ระบบสายส่งไฟฟ้าเหนือพื้นดินอยู่เหมือนเดิม

สำหรับประเทศสหรัฐอเมริกา ค่าใช้จ่ายในการทำสายส่งไฟฟ้าลงดินจะแพงกว่าการทำสายส่งไฟฟ้าเหนือพื้นดินประมาณ 3 ถึง 10 เท่า

ราคาของระบบสายไฟฟ้าเหนือพื้นดินจะอยู่ที่ 285,000 ดอลลาร์ต่อ 1.6 กิโลเมตร ระบบสายไฟฟ้าใต้ดินจะอยู่ที่ 1,000,000 ดอลลาร์ต่อ 1.6 กิโลเมตร (ข้อมูลล่าสุดในปี 2015)

สำหรับประเทศญี่ปุ่นจะแพงกว่า 10 ถึง 20 เท่ากันเลยทีเดียว อยู่ที่ 530 ล้านเยนต่อ 1 กิโลเมตร

แผนภาพแสดงความหนาแน่นของประชากรในแต่ละพื้นที่ของสหรัฐอเมริกา

ส่วนอีกหนึ่งสาเหตุที่ยังไม่มีการทำระบบสายไฟฟ้าใต้ดินในพื้นที่ปลอดความเสี่ยงภัยพิบัติ อันเนื่องมาจากมีจำนวนประชากรอยู่อาศัยน้อย นั่นก็หมายความว่ามีการใช้ไฟฟ้าในปริมาณที่น้อยเช่นกัน ดังนั้นจึงไม่อาจดำเนินการเปลี่ยนระบบการจ่ายไฟฟ้าใต้ดินเนื่องจากเป็นการลงทุนที่สูญเปล่า (แพงและไม่คุ้ม)

สภาพของเมืองนิวออร์ลีนส์ ในปี 2005 หลังเผชิญกับพายุเฮอร์ริเคนแคทรีนา

จากข้อจำกัดข้างต้น สหรัฐอเมริกาจึงเลือกที่จะใช้ระบบสายส่งไฟฟ้าเหนือพื้นดินอยู่ เพราะสามารถซ่อมแซมได้ง่ายกว่า มีราคาที่ถูกกว่า สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้อย่างคงที่ แม้จะต้องเจอกับภัยพิบัติอยู่บ่อยครั้งก็ตาม

สภาพของเสาไฟฟ้าที่ล้มลงในประเทศญี่ปุ่น จากเหตุแผ่นดินไหวในอดีต

แผ่นดินไหวในเมืองฮิโระชิมะ ปี 2014


และถึงแม้ว่าประเทศญี่ปุ่นจะเป็นประเทศที่มีความล้ำสมัย มีเทคโนโลยีที่ก้าวกระโดดมากแค่ไหนก็ตาม แต่อย่าลืมว่าประเทศญี่ปุ่นก็ประสบกับแผ่นดินไหวบ่อยครั้งเช่นกัน เพราะฉะนั้นแล้วระบบสายส่งไฟฟ้าเหนือพื้นดินก็ยังคงมีอยู่ต่อไป


ระบบสายส่งไฟฟ้าเหนือพื้นดินก็ยังคงมีอยู่ในประเทศญี่ปุ่น


ทีนี้รู้รึยังว่า ทำไมบ้านเราถึงยังใช้ระบบสายส่งไฟฟ้าลงดิน?

ที่มา : wongkan
Different Themes
Written by Lovely

Aenean quis feugiat elit. Quisque ultricies sollicitudin ante ut venenatis. Nulla dapibus placerat faucibus. Aenean quis leo non neque ultrices scelerisque. Nullam nec vulputate velit. Etiam fermentum turpis at magna tristique interdum.

0 ความคิดเห็น