Open top menu
วันจันทร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2561

แน่นอนคนไทยเข้าใจและคุ้นเคยกับคำว่า CG แต่จริงๆแล้ว มันมีชื่อเรียกว่า CGI (Computer-generated Imagery) ก็คือการใช้คอมพิวเตอร์สร้างภาพจำลองต่างๆ เพื่อเอามาใส่ภาพยนตร์ โดยในปัจจุบัน ภาพยนตร์ระดับฮอลลีวูดเกือบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์แอ็คชั่น ระทึกขวัญ สยองขวัญ หรือแม้แต่ดราม่า ก็มีการใช้ CGI เข้าไปช่วยในฉากต่างๆ แทบทั้งสิ้น และวันนี้เรา จะพามาพบกับฉากหนังบางตอนของภาพยนตร์ชื่อดัง ที่เราคิดว่าจริงๆ แล้วต้องมีการใช้ CGI แน่ๆ แต่เปล่าเลย พวกเขาใช้มันน้อยกว่าที่คุณคิด จะมีเรื่องไรบ้างนั้นไม่รอช้าเราไปชมกันเลย

1. ทอม ครูซ ปีนตึก Burj Khalifa จริงๆ ในเรื่อง Mission: Impossible – Ghost Protocol



2. รถคว่ำในเรื่อง Casino Royale ทำสถิติโลก

หลังจากที่ ดาเนียล เคร็ก เข้ามาสู่โลกของเจมส์ บอนด์ ในทศวรรษที่ 2000 ภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ได้สร้างสถิติมากมาย เช่น ฉากระเบิดที่ใหญ่ที่สุดบนจอภาพยนตร์ รวมถึงฉากรถคว่ำที่ทำลายสถิติโลกคว่ำ 7 ตลบ จนถูกบันทึกไว้ในกินเนสบุ๊คอีกด้วย



3. ฉากรับถาดที่ลอยตกพื้นของ โทบี้ แมกไกวร์ ใน Spider-Man

หากใครจำได้ในฉากนี้ที่ แมรี่ เจน เหยียบน้ำส้มที่หกอยู่ที่พื้นจนลื่น ถาดที่เธอถืออยู่ในมือพร้อมกับ แซนวิช นม และแอปเปิ้ล ลอยขึ้นไปบนเพดาน และพระเอกของเราต้องรับถาดพร้อมอาหารทั้งหมดให้ได้ แทนที่ผู้กำกับจะใช้ CGI ช่วย แต่พวกเขากลับเลือกใช้กาวช้างทาเอาไว้บนถาด พร้อมกับใช้ความพยายามของ โทบี้ แมกไกวร์ และในที่สุดเขาก็ทำสำเร็จในเทคที่ 156



4. ฉากคาเฟ่ในกรุงปารีส ในภาพยนตร์ Inception

คริสโตเฟอร์ โนแลน เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นผู้กำกับความสามารถสูงที่มักจะใช้ CGI น้อยกว่าผู้กำกับคนอื่นๆ แม้แต่ในภาพยนตร์อย่าง Inception ซึ่งในฉากในคาเฟ่ที่กรุงปารีส ทีมงานได้ใช้ปืนอัดอากาศยิงสิ่งของให้ลอยขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง และใช้กล้องแบบพิเศษที่ถ่ายแบบ 1,500 เฟรมต่อวินาที และผลลัพธ์ก็เกิดเป็นฉากที่อลังการแบบที่เราเห็นในภาพยนตร์



5. ไดโนเสาร์ใน Jurassic Park ไม่ได้ใช้ CGI

แม้จะผ่านไปนานถึง 24 ปีแล้วสำหรับภาพยนตร์เรื่องนี้ แต่การใช้สเปเชียลเอฟเฟคใน Jurassic Park เองก็ถือว่ายอดเยี่ยมไร้เทียมทานเสมอ เพราะไดโนเสาร์ที่เราเห็นทั้งหมดไม่ได้ใช้ CGI แต่เป็นการใช้เทคนิคที่เรียกว่า อนิเมโตรนิกส์ หรือการสร้างหุ่นยนต์ให้ดูเหมือนมีชีวิต รวมถึงไดโนเสาร์บางตัวก็เป็นชุดให้คนสวมใส่ ซึ่งทั้งหมดนี้ทำให้ สแตน วินสตัน ผู้เชี่ยวชาญด้านสเปเชียลเอฟเฟคของภาพยนตร์เรื่องนี้ ได้รางวัลออสการ์ สาขาเทคนิคพิเศษยอดเยี่ยมไปครอง



6. รถแบทแมนและรถ 18 ล้อคว่ำใน The Dark Knight เป็นของจริง

มันไม่ง่ายเลยที่จะแยกแยะความแตกต่างในภาพยนตร์เรื่องนี้ว่าอันไหนเป็น CGI อันไหนเป็นของจริง แต่สำหรับในฉากที่รถแบทแมนสุดเจ๋งที่พุ่งชนกับรถเก็บขยะ โนแลนได้ย่อส่วนรถแบทแมนลงจากเดิม รวมถึงฉากที่รถบรรทุก 18 ล้อพลิกคว่ำก็ไม่ได้ใช้ CGI แต่อย่างใด



7. พวกอ๊อค ใน The Loard of the Rings

หลังจากการถ่ายภาพยนตร์ The Hobbit ด้วยกล้อง 3D ที่ 48 เฟรมต่อวินาที ปีเตอร์ แจ็คสัน ได้คาดหวังเสียงตอบรับในด้านบวกจากแฟนๆ แต่ผู้ชมก็ยังคงชื่นชอบ The Lord of the Rings มากกว่า ถึงแม้ว่ามันจะเต็มไปด้วยการใช้ CGI มากมาย ยกเว้นแต่พวกอ๊อคและสัตว์ประหลาดต่างๆ ที่ยังคงใช้เทคนิคการเมคอัพอยู่ และนั่นก็ทำให้พวกอ๊อคเหล่านี้ดูเจ๋งเอามากๆ



8. เครื่องปฏิกรณ์ของ โทนี่ สตาร์ก

เราปฏิเสธไม่ได้ว่าภาพยนตร์ซุปเปอร์ฮีโร่ทั้งหลายต้องเต็มไปด้วยการใช้ CGI แต่ฉากที่น่าสนใจฉากหนึ่งของเรื่องก็คือตอนที่ เปปเปอร์กำลังดึงเครื่องปฏิกรณ์ออกจากหน้าอกของโทนี่ เราคิดว่าฉากนี้ต้องใช้ CGI แน่ๆ แต่เปล่าเลย เพราะนั่นคือของจริง เพียงแต่เป็นการสร้างหน้าอกเทียมขึ้นมาเพื่อใส่เจ้าเครื่องนี้ลงไปให้เป็นรูได้นั่นเอง



9. ดาวเคราะห์น้อยใน The Empire Strikes Back เป็นแค่มันฝรั่งกับรองเท้า

ในภาพยนตร์ Star Wars: The Empire Strikes Back เมื่อปี 1980 ดาวเคราะห์น้อยที่เราเห็นในเรื่องแท้จริงแล้วมันคือรองเท้าและมันฝรั่งเท่านั้น โดยหนึ่งในทีมสเปเชียลเอฟเฟค ได้ขว้างรองเท้าลงไปเพราะ จอร์จ ลูคัส ผู้กำกับสั่งเทคซ้ำแล้วซ้ำอีก



10. โนแลนปลูกไร่ข้าวโพด 500 เอเคอร์ สำหรับหนัง Interstellar

หลายคนที่ชมภาพยนตร์เรื่องนี้คงเห็นไร่ข้าวโพดขนาดใหญ่สุดลูกหูลูกตา ซึ่งนั่นถูกผู้กำกับ คริสโตเฟอร์ โนแลน สั่นให้ปลูกขึ้นมาถึง 500 เอเคอร์ และหลังจากที่ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้เสร็จ เขาก็ขายข้าวโพดทิ้งเพื่อเอาทุนคืน ซึ่งแนวคิดนี้ได้นำมาจาก แซ็ค สไนเดอร์ ที่ปลูกไร่ข้าวโพด 2-3 เอเคอร์ ขึ้นเพื่อถ่ายทำภาพยนตร์ Man of Steel



ขอบคุณที่มา : petmaya.com
Different Themes
Written by Lovely

Aenean quis feugiat elit. Quisque ultricies sollicitudin ante ut venenatis. Nulla dapibus placerat faucibus. Aenean quis leo non neque ultrices scelerisque. Nullam nec vulputate velit. Etiam fermentum turpis at magna tristique interdum.

0 ความคิดเห็น