Open top menu
วันจันทร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2560

การใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนทั่วโลกนั้นแตกต่างกันอย่างมหาศาลแม้แต่ในประเทศอุตสาหกรรม โดยในครัวเรือนขนาดทั่วไปของประเทศแถบยุโรปใช้พลังงาน 4,667 กิโลวัตต์ชั่วโมง ในขณะที่ครัวเรือนในสหรัฐอเมริกาใช้ 11,209 กิโลวัตต์ชั่วโมง และในประเทศญี่ปุ่นใช้ 5,945 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี ครัวเรือนในสหรัฐอเมริกาใช้หลอดไฟมากกว่ายุโรปถึง 3 เท่า และใช้ตู้เย็นมากกว่ายุโรป 2 เท่า แต่นี่ไม่ได้สะท้อนให้เห็นว่าสหรัฐและยุโรปมีความสะดวกสบายต่างกัน  เพราะมีการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านที่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งกินไฟน้อยกว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น 2-10 เท่า ทั้งๆ ที่มีการทำงานเหมือนกัน และส่วนใหญ่มีคุณภาพดีกว่าด้วย  การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูงและประหยัดนั้น ทำให้ครัวเรือนขนาดทั่วไปใช้ไฟฟ้าลดลงถึง 1,300 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี โดยได้รับความสะดวกสบายเหมือนเดิม ซึ่งน้อยกว่าค่าเฉลี่ยการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในสหรัฐอเมริกาเกือบ 10 เท่า

ซึ่งไฟฟ้าถือเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของคนเราไปแล้ว เพราะมันช่วยอำนวยสะดวกทางด้านต่างๆได้ดีมากถึงมากที่สุด และยังทำให้ชีวิตประจำวันของเราราบรื่น ไม่ว่าจะตื่น กิน นอน เล่น แต่เมื่อเป็นเช่นนี้จึงมีปัญหาอีกหนึ่งอย่างที่พุ่งเข้าหานั่นก็คือ ค่าไฟที่พุ่งกระฉูดเกิดขึ้น รัฐบาลยังต้องออกมาประกาศรณรงค์ประหยัดไฟฟ้ากันเลยล่ะเดี๋ยวนี้…

1. เปิดแอร์ 25 องศาประหยัดไฟที่สุด

ไม่จริง:คนไทยเป็นมนุษย์เมืองร้อนซะเปล่า แต่ดันเปิดแอร์กันซะ 18-24 องศาเพราะอยากให้เย็นไวๆ ทั้งที่ความจริง 26-28 องศาก็เย็นแล้ว ทางการเลยต้องออกมารณรงค์ให้เปิดแอร์ที่ 25 องศากันเพราะมันกลางๆ สามารถทำให้พวกเธอช่วยกันประหยัดไฟได้ในระดับหนึ่งที่เธอเองก็จะไม่รู้สึกว่ามีผลกระทบอะไร แต่จริงๆถ้าพูดว่าอยากประหยัดค่าไฟแอร์ แนะนำให้ล้างแอร์บ่อยๆ เพราะฝุ่นที่เกาะเป็นกำแพงหนายิ่งทำให้แอร์ต้องทำงานหนัก ค่าไฟเลยงอกเงย ทั่วไปก็ครึ่งปีล้างที ดีต่อใจดีต่อกระเป๋าเงิน

2. เปิด-ปิดแอร์บ่อย เปลืองไฟ

ไม่จริง:การเปิดแอร์ค้างไว้นานๆต่างหากที่เปลืองไฟ จริงอยู่ว่าช่วงที่กดสวิตช์เปิด-ปิดแอร์ ต้องใช้พลังงานค่อนข้างสูงที่จะจุดให้แอร์ทำงาน แต่มันก็แค่ระยะกระพริบตาเท่านั้นเอง ต่อให้เธอกดเปิด-ปิดแอร์เป็นจังหวะสามช่าติดต่อกัน 3 รอบ ก็ยังเสียค่าไฟน้อยกว่าการเปิดแอร์ค้างไว้ 1 ชั่วโมงอยู่ดี แต่ก็ไม่ควรทำบ่อยๆนะ ถึงไม่เปลืองไฟ แต่ก็ทำให้เครื่องยนต์แอร์ทำงานหนักเกิน อายุแอร์อาจสั้นลงได้

3. ตู้เย็นเล็กประหยัดกว่าตู้เย็นใหญ่

ไม่จริง:ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ก็กินไฟเท่ากันนั่นแหละ แต่ถ้าอยากให้ประหยัด ควรตั้งตู้เย็นให้ห่างจากผนังสัก 15 ซม. เพื่อให้ระบบระบายความร้อนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และอย่าตั้งตู้เย็นไว้ใกล้แหล่งความร้อน ไม่ว่าจะหม้อหุงข้าว หรือเตาไฟฟ้า เพราะระบบระบายความร้อนมันจะทำงานหนักขึ้น ความร้อนตีกันไปหมด

4. ใช้รีโมทปิดทีวี เปลืองกว่าเดินไปกดปิดที่เครื่อง

ไม่จริง:การปิดทีวี ไม่ว่าจะปิดตรงไหน วิธีไหน ยังไงก็เปลืองไฟถ้าปลั๊กยังเสียบคาไว้อยู่ ถ้าอยากให้ประหยัดจริงๆ ถนอมไว้จริงๆ แนะนำให้เดินไปถอดปลั๊กทีวีออกด้วย เพราะถ้ายังเสียบไว้ ไฟฟ้าก็ยังสามารถเข้าไปหล่อเลี้ยงวงจรส่วนหนึ่งได้อยู่ดี ไม่งั้นก็เปลี่ยนมาเสียบปลั๊กทีวีเข้ากับปลั๊กสามตาที่มีสวิตช์เปิด-ปิด จะได้ง่าย ไม่ต้องกลัวสายไฟขาดจากการดึงปลั๊กเข้า-ออกด้วยจ้า

5. ใช้ Earth Leak Circuit Breaker  แล้วจะประหยัดไฟ

การติดตั้ง  Earth Leak Circuit Breaker หรือเครื่องตัดไฟทันทีที่เกิดไฟลัดวงจร  ทั่วไปแล้วเขามีไว้เพื่อตัดกระแสไฟฟ้าในระบบไฟของบ้าน ช่วยแก้ปัญหาไฟรั่วแล้วตรวจสอบสาเหตุได้ยาก โดยเฉพาะระบบการเดินท่อแบบหุ้ม หรือฝังในผนังอาคารและโครงสร้างอาคารได้เป็นอย่างดี แต่ไม่ได้ช่วยเรื่องประหยัดไฟฟ้าเลย

6.ประเทศไทย ระวังการใช้  Bay window

หน้าต่างแบบ Bay window  ที่มีรูปแบบสวยงาม เป็นหน้าต่างที่เหมาะสมกับประเทศในเขตภูมิอากาศหนาว ซึ่งต้องการรับแสงแดดและแสงสว่าง เพื่อสร้างความอบอุ่นในอาคารบ้านเรือน ฝรั่งจึงต้องทำให้มีส่วนใดส่วนหนึงของบ้านยื่นออกไปรับแสงแดด   ซึ่งตรงข้ามกับแนวทางการออกแบบในประเทศไทยอย่างสิ้นเชิง ที่แดดจัด แดดแรง การสร้างบ้านจึงต้อนเน้นเรื่องการบังแดด  ดังนั้นใครที่คิดว่าอยากจะได้ Bay window  เหมือนบ้านของชาวตะวันตกก็ควรจะพิจารณาทิศทางและตำแหน่งการออกแบบหน้าต่างดังกล่างให้สอดคล้องกับทิศแดดและลมของประเทศไทยด้วย

ที่มา : siamnews
Different Themes
Written by Lovely

Aenean quis feugiat elit. Quisque ultricies sollicitudin ante ut venenatis. Nulla dapibus placerat faucibus. Aenean quis leo non neque ultrices scelerisque. Nullam nec vulputate velit. Etiam fermentum turpis at magna tristique interdum.

0 ความคิดเห็น