วรวีร์ มะกูดี
วรวีร์จบการศึกษาชั้นมัธยม จากโรงเรียนอำนวยศิลป์ และเริ่มสนใจการแข่งขันฟุตบอล โดยตั้งแต่เมื่อครั้งยังเป็นนักเรียน ได้รับคัดเลือกเข้าสู่ทีมของโรงเรียน รวมถึงผ่านการคัดเลือก เป็นนักฟุตบอลของสโมสรมุสลิม ตั้งแต่ชุดเยาวชนจนถึงชุดใหญ่ และลงแข่งขันฟุตบอลถ้วยพระราชทานประเภท ง และ ค ตามลำดับ ต่อมาย้ายสังกัดไปยังสโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงเทพ และได้เลื่อนชั้นขึ้นไปแข่งในฟุตบอลถ้วยพระราชทานประเภท ข และ ก ตามลำดับ
จากนั้นเดินทางไปศึกษาต่อ ที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติคูเวต โดยทุนของรัฐบาลคูเวต และได้รับคัดเลือกเข้าร่วมทีมฟุตบอลของมหาวิทยาลัย จนกระทั่งจบการศึกษาในระดับปริญญาตรี จึงเลิกเล่นฟุตบอล สำหรับชีวิตครอบครัว วรวีร์สมรสกับสุมิตรา (นามสกุลเดิม: มาเรียม) เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2526 มีบุตรชายด้วยกัน 2 คนคือ สุรวุฒิ (ป้อง) และ ศศินทร์ (ปอม)
วรวีร์กลับมาเกี่ยวข้องกับฟุตบอลอีกครั้ง[ไม่แน่ใจ – พูดคุย] เมื่อเข้าไปเป็นผู้จัดการสโมสรฟุตบอลตำรวจดับเพลิง ในระดับถ้วยพระราชทานประเภท ข ประมาณ 2 ปี ก่อนจะทำการก่อตั้ง รวมถึงเป็นผู้จัดการสโมสรฟุตบอลโรงเรียนหนองจอกพิทยานุสรณ์ (เริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2532) และสโมสรฟุตบอลโรงเรียนศาสนวิทยา (เริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2535) จนกระทั่งเลื่อนชั้นขึ้นไปแข่งในฟุตบอลถ้วยพระราชทานประเภท ก
สำหรับการดำรงตำแหน่งระดับนานาชาตินั้น วรวีร์เป็นสมาชิกผู้บริหาร (Executive member) ของสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ (FIFA) และกรรมการบริหารชาติสมาชิก (Executive committee member) ของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (AFC) โดยตำแหน่ง[5] โดยทั้งสองนั้น เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 จนถึงปัจจุบัน[6] ต่อมาในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2556 วรวีร์ลงสมัครรับเลือกตั้ง เป็นประธานสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (เอเอฟซี) โดยมีการประชุมสมาชิกของสมาพันธ์ เพื่อลงคะแนนเลือกตั้งที่ประเทศมาเลเซีย แต่ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า เชค ซัลมาน บิน อิบราฮิม อัล-คอลิฟะห์ จากประเทศบาห์เรนชนะ ซึ่งมีกระแสข่าวว่า เชค อะห์หมัด อัล-ฟาฮัด อัล-อะห์เหม็ด อัล-ซาบะห์ ประธานสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย ให้การสนับสนุน ได้รับคะแนนเสียงสูงสุด จึงเข้าเป็นประธานเอเอฟซีดังกล่าว
ทั้งนี้ ในวาระการดำรงตำแหน่งของวรวีร์ ทีมชาติไทยได้รับการจัดอันดับโลกฟีฟ่ามีอันดับต่ำสุดในประวัติฟุตบอลไทย[ต้องการอ้างอิง] โดยต่ำสุดที่อันดับ 158 ของโลก (ก.ย. 2557)
0 ความคิดเห็น